สมุนไพรที่ควรปลูกไว้ในโรงเรียน


   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รางจืด

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia laurifolia
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : กำลังช้างเผือก เครือเขาเขียว ขอบชะนาง ยาเขียว(ภาคกลาง)คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะ : ไม้เลื้อยหรือไม้เถา มีลักษณะเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ใบ จะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเรียวแหลม กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ส่วนดอกจะมีสีม่วงอมฟ้า ใบประดับ สีเขียวประสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทย ใช้ ใบ ราก และเถา รสจืดเย็น ตำคั้นหรือเอารากฝนกับน้ำหรือต้มเอาน้ำยาดื่มถอนพิษ แก้ไข้ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้ปวดหู ตำพอก แก้ปวดบวม เถาและใบ รับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษร้อนต่างๆ ราก รสจืดเย็น แก้อักเสบ แก้ปวดบวม แก้เมาค้าง แก้อาการปวดหัวมึนหัวอันเนื่องมาจากพิษสุรา ถอนพิษสุรา พิษตกค้างในร่างกาย ใช้รากเข้ายารักษาโรคอักเสบและปอดบวม รากและเถา ใช้กินเป็นยารักษาอาการร้อนในกระหายน้ำ รักษาพิษร้อนทั้งปวง ทั้งต้น รสจืดเย็น ถอนพิษยาเบื่อเมา หรือใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และพิษทั้งปวง ปรุงยาแก้มะเร็ง
ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ใบ แก้โรคเบาหวาโดยใช้ใบประมาณ 58 ใบมาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าว  รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา
 
Advertising Zone    Close

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com